วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม 2558
ครั้งที่ 16 เวลา 08.30-12.20 น.

วันนี้เป็นการสอนวันสุดท้าย ซึ่งอาจารย์ให้นักศึกษาสอบร้องเพลงของเด็กปฐมวัยที่อาจารย์เคยให้นักศึกษาฝึกร้องในชั่วโมงเรียน ซึ่งเพลงมีทั้งหมด 30 เพลง โดยอาจารย์จะให้นักศึกษาจับสลากในการสอบร้องเพลง ซึ่งดิฉันจับสลากได้เพลง  เที่ยวท้องนา

เพลง  เที่ยวท้องนา
ฉันท่องเที่ยวไป
ผ่านตามท้องไร่ท้องนา
เห็นฝูงวัวกินหญ้า 1 2 3 4 5 ตัว
หลงเที่ยวเพลิดเพลิน
ฉันเดินพบอีกฝูงวัว
นับนับดูจนทั่ว 6 7 8 9 10 ตัว

หลังจากที่สอบร้องเพลงเสร็จแล้ว อาจารย์ได้มอบรางวัลเด็กดี ซึ่งดิฉันได้รางวัลเด็กดีคะ

รางวัลเด็กดี


ร่วมกันร้องเพลงส่งท้ายของการเรียนและถ่ายรูป
เพื่อนที่รัก 106






การนำความรู้ไปใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้จากการสอบร้องเพลงไปใช้ในการสอนใยชีวิตจริงได้เป็นอย่างดี เพราะเพลงคือส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เด็ก
- ทำให้เราได้ฝึกร้องเพลงและได้รู้เนื้อร้องที่ถูกต้อง รวมถึงจังหวะของเพลงได้เป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง : ตั้งใจสอบร้องเพลงและตั้งใจฝึกซ้อมการร้องเพลง ขอบคุณอาจารย์ที่ให้รางวัลเด็กดีกับหนู แต่งกาบเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตื่นเต้นกับการสอบร้องเพลงและตั้งใจฝึกซ้อมมาอย่างดี ทุกคนตั้งใจสอบกันมาก ร่าเริงแจ่มใสทุกคน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจให้คะแนนแก่นักศึกษาในการสอบร้องเพลงเป็นอย่างมาก มีตัวช่วยให้เลือกในการสอบร้องเพลง อาจารย์น่ารักมากคะ ดีใจมากที่ได้เรียนกับอาจารย์และอยากจะเรียนกับอาจารย์ในรายวิชาต่อๆไปคะ รักอาจารย์มากที่สุด ^_____^








บันทึกอนุทินครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 22 เมษายน 2558
ครั้งที่ 15 เวลา 08.30-12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในวันนี้อาจารย์สอนการเขียนแผน IEP (โปรแกรมการศึกษาฉพาะบุคคล Individualized Education Program ) 
การเขียนแผน IEP อันดับแรกที่เราจะต้องทำคือ การคัดแยกเด็กพิเศษและครูต้องรู้ว่าเด็กพิเศษมีปัญหาอะไร ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ เพราะจะทำให้ครูทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหนก่อน ในทักษะใดบ้าง และต้องรู้ว่าเด็กสามารถทำอะไรได้บ้างและไม่สามารถทำอะไรได้บ้าง แล้วจึงค่อยเริ่มเขียนแผน IEP


 แผน IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวเด๋็ก
- ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบรการพิเศษอะไรบ้าง
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็ดเข้าโรงเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกตนอย่างไร

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล IEP
1. การรวบรวมข้อมูล
    - รายงานทางการแพทย์
    - รายงานการประเมินด้านต่างๆ
    - บันทึกจากครู ผู้ปกครองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
    - ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
    - กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
    - กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
    - จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น
จุดมุ่งหมายระยะยาว
- กำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง
จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฟติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
- เมื่อแผนเสร้จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
4. การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมินและเกณฑ์วัดผล
  ** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน

จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เขียนแผน IEP โดยการเขียนแผน อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนแผนกี่ทักษะก็ได้ โดยสมมุติให้เพื่อนในกลุ่มเป็นเด็กพิเศษ 1 คน แล้วลองช่วยกันคิดแผน IEP ขึ้นมา

การนำความรู้ไปใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้จากการเขียนแผน IEP ไปใช้กับเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดีและเป็นแนวทางในการพัฒนาเด็กพิเศษได้ดี
- ทำให้รู้ถึงขั้นตอนแต่ละขั้นตอนของการเขียนแผน IEP ที่ถูกต้องและเหมาะกับเด็ก
- ทำให้มีความเข้าใจมากขึ้นสำหรับการเขียนแผน IEP ซึ่งดิฉันสามารถเขียนแผนได้เป็นอย่างดี
- สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนในอนาคตได้ ซึ่งการเขียนแผน IEP ในวันนี้สามารถนำไปใช้การสอนในชีวิตจริงได้ดี

ประเมินตนเอง : ตั้งใจฟังอาจารย์สอนการเขียนแผน IEP มีคุยบ้างเล็กน้อย และตั้งใจฝึกฝนการเขียนแผน IEP ภายในกลุ่มได้เป็นอย่างดี ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อนๆ มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนกันทุกคน และตั้งใจเขียนแผน IEP กันอย่างมาก ร่าเริงแจ่มใสกันทุกคน แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนการเขียนแผน IEP มีการสรุปหลังท้ายชั่วโมง ทำให้เข้าใจมากขึ้น อาจารย์น่ารัก ใจดี แต่งกายเรียบร้อย





บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 15 เมษายน 2558
ครั้งที่ 14 เวลา 08.30-12.20 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันสงกรานต์






วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 8 เมษายน 2558
ครั้งที่ 13 เวลา 08.30-12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
ในต้นชั่วโมงอาจารย์แจกชีสเพลงและสอนนักศึกษาร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัยและอาจารย์ได้เฉลยข้อสอบในการสอบเก็บคะแนน 10 คะแนนครั้งที่แล้วด้วยคะ


เนื้อหาที่เรียนในวันนี้ คือ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมายในการส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางการเรียน คือ ครูต้องทำให้เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"และทำใหเ้ด็กมีความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง อย่าทำให้เด็กคิดว่า "หนูทำไม่ได้เหมือนเพื่อนคนอื่น" ครูจึงต้องมีการจัดกิจกรรมที่พัฒนาความกระตือรือร้นให้กับเด็ก คือ กิจกรรมที่จัดให้เ็กต้องมีความหลากหลาย ไม่ซ้ำกันและที่สำคัญต้องจัดกิจกรรมที่น่าสนใจ เมื่อเด็กเห็นแล้วเกิดความสนใจอยากที่จะทำกิจกรรม อยากสำรวจ อยากทดลอง
ในช่วงความสนใจของเด็ก โดยปกติแล้วเด็กปกติหรือเด็กทั่วไป จะมีช่วงเวลาความสนใจอยู่ที่ประมาณ 5-15 นาที และเด็กพิเศษจะมีช่วงความสนใจอยู่ที่ประมาณ 1-5 นาที(บางครั้งก็ไม่ถึงเวลาประมาณนี้)ขึ้นอยู่กับการจัดกิจกรรมในแต่ละอย่าง เพราะฉะนั้นครูต้องจัดหากิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น การเล่านิทาน
การเล่านิทาน
วิธีการ คือ 1. เลือกนิทานที่เด็กสนใจ
2.ให้เด็กมีส่วนร่วมในการเล่านิทาน
3. หนังสือนิทานต้องเป็นนิทานที่ไม่ใช้เวลานาน
4. ต้องพยายามดึงสติเด็กเอาไว้ เช่น การเรียกชื่อ การแสดงความคิดเห็น เป็นต้น
การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ : เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่ เมื่อเวลาที่ครูเรียกชือเด็ก ครูควรเรียกชื่อเด็กให้ชัดเจนและถูกต้อง แต่ไม่ควรตะโกน เพราะจะทำให้เด็กตกใจได้ โดยเฉพาะน้องดาวน์ซินโดรมจะเป็นเด็กที่คล้ายๆกับบกพร่องทางการได้ยินแต่ไม่มาก
เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่? การที่ครูจะสื่อสารกับเด็ก ครูควรใช้คำศัพท์ง่ายๆคำพูดง่ายๆในการพูดคุยสื่อสารกับเด็ก เพราะคำศัพท์บางคำเด็กไม่สามารถที่เข้าใจความหมายของมันได้
คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนหรือไม่? การที่ครูจะสั่งให้เด็กทำกิจกรรมอะไรนั้น ครูควรบอกขั้นตอนทีละอย่างโดยเฉพาะเด็กพิเศษ ซึ่งเด็กพวกนี้ไม่สามารถที่จะตอบสนองได้รวดเร็วเหมือนกับเด็กปกติ
การรับรู้ การเคลื่อนไหว 
-ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น (ประสาทสัมผัสทั้ง ๕)
-ตอบสนองอย่างเหมาะสม
การควบคุมกล้ามเนื้อเด็ก คือ การที่ให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆที่จะสามารถพัฒนาทางด้านร่างกายได้ดี เช่น การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก กิจกรรมศิลปะ มุมบ้าน เป็นต้น

อุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
ลูกปัดขนาดใหญ่

รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

การทบทวนความจำของเด็กพิเศษ คือ การที่ครูถามจากเหตุการณ์ที่ผ่านมา เช่น เมื่อเช้าหนูทานอะไร จำตัวละครในนิทานได้ไหม จำชื่อครูและเพื่อนได้ไหม เป็นต้น

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์

เด็กสามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ได้ผ่านอุปกรณ์การเล่นต่างๆ เช่น เครื่องเล่นสนาม

การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
- เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย เช่น พู่กัน เป็นต้น
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุกสนาน


การนำความรู้ไปใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้ในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษในอนาคตได้เป็นอย่าง เพราะมีทั้งเทคนิคและกระบวนการต่างๆที่จะพัฒนาให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้ โดยเฉพาะการที่เราจะพัฒนาเด็กในด้านใดเราควรที่จะมีเป้าหมายและทำเป้าหมายที่เราตั้งไว้ให้ดีและบรรลุตามเป้าหมายที่เราตั้งไว้ ผลออกมาที่ได้ก็คือตัวเด็กเอง ทำให้รู้ถึงการพัฒนาทักษะต่างๆที่จำเป็นสำหรับเด็กพิเศษว่าเราควรจะพัฒนาเด็กในด้านในและมีวิธีการที่พัฒนาให้เด็กดีขึ้นได้อย่างถูกวิธีได้อย่างไร ซึ่งอาจารย์ก็ได้บอกเทคนิคต่างๆและสอนให้นักศึกษาได้รู้และได้เข้าใจถึงสิ่งนั้นๆได้เป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง : เช้าวันนี้ในการมาเรียนด้วยบรรยากาศที่ครึ้มด้วยฝน ฝนตกหนักมาก การมาเรียนในครั้งนี้ก็มาสายกว่าปกติแต่ก็ไม่เลยเวลาที่อาจารย์เข้าสอน แต่งกายเรียบร้อยแต่เปียกไปนิดหน่อยคะ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมในสิ่งอาจารย์บอก ถึงแม้จะมีคุยไปบ้างแต่หนูก็ตั้งใจเรียนคะ

ประเมินเพื่อน : แน่นอนว่าวันนี้ฝนตกหนักมาก เพื่อนบางคนการเดินทางเป็นไปด้วยลำบากและล่าช้ากว่าเดิม แต่อาจารย์ก็เข้าใจนักศึกษาคะ ตั้งใจเรียน มีความสุข สีหน้าท่าทางยิ้มแย้มแจ่มใสคะ

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์แจกสีไม้คลอรีน ให้กับนักศึกษาคนละ 1 กล่องซึ่งเป็นค่าวัสดุฝึก อาจารย์ตั้งใจสอนและมอบความรู้ให้แก่นักศึกษาอย่างเต็มที่คะ แต่งกายเรียบร้อย ร้องเพลงเพาะตรงจังหวะ หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสถึงแม้ว่านักศึกษาจะคุยไปบ้างแต่อาจารย์ก็สู้คะ






วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 1 เมษายน 2558
ครั้งที่ 12 เวลา 08.30-12.20 น.

ในวันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากจัดกิจกรรม กีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์

ภาพบรรยากาศในการจัดงานกีฬาสี






บรรยากาศการแข่งขันกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์




ประเมินตนเอง : มาช่วยจัดงานกีฬาสีศึกษาศาสตร์สัมพันธ์ คือ การจัดป้ายสแตนเชียร์ และเข้าร่วมการเชียร์กีฬาสีของสาขาการศึกษาปฐมวัย ร่วมทั้งจัดเก็บสถานที่หลังปิดการแข่งขันกีฬาสีจนจบ แต่งกายเรียบร้อย มีความรู้สึกสนุกสนานถึงแม้จะเหนื่อยไปบ้างแต่ผลงานที่จัดทำกีฬาสีสวยงามมากคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนบางคนมาข่วยกันจัดงานกีฬาสี จัดทำป้ายสแตนเชียร์ ร่วมมือกันจัดกิจกรรมออกมาได้อย่างสวยงาม ทุกคนสนุกสนาน มีความสามัคคีกันมากคะ ช่วยกันทำงานจนสำเร็จไปด้วยดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ช่วยทำป้ายสแตนเชียร์และจัดงานกีฬาสี ช่วยออกแบบการจัดทำกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวกับปฐมวัย อยู่ช่วยงานกับนักศึกษาจนงานจบลง ขอบคุณอาจารย์นะคะที่เลี้ยงพิซซ่าให้พวกหนูและคอยช่วยเหลือการจัดงานและออกไอเดียเก๋ๆคะ









วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 11 เวลา 08.30-12.20 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์สอบเก็บคะแนน วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  10 คะแนน


ประเมินตนเอง : จากการสอบในวันนี้ มีความตั้งใจทำข้อสอบเก็บคะแนนและตั้งใจสอบเป็นอย่างมาก ความยากง่ายของข้อสอบมีความเหมาะสมคะ มาเข้าก่อนเวลา

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจสอบมากคะ ต่างคนต่างทำข้อสอบ และคิดว่าเพื่อนๆทุกคนทำข้อสอบออกมาได้เป็นอย่างดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คุมสอบดีคะ ออกข้อสอบได้เหมาะสมคะ มันเป็นการทดสอบถึงความรู้ในระหว่างที่นักศึกษาเรียนว่ามีความรู้มากน้อยแค่ไหนหลังจากที่ได้เรียนไปคะ 




วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือ



การสร้างความอิสระ   เด็กอยากช่วยเหลือตนเองและอยากทำงานตามความสามรถของตนเองไม่อยากให้ใครเข้ามาช่วยเหลือ เด็กอยากสร้างผลงานด้วยตนเองมากกว่าที่จะให้ใครมาช่วย เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ    ความสำเร็จของเด็กพิเศษคือ การที่เขาทำผลงานได้ด้วยตนเองและเขามีความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับผลงานและเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง    ส่วนมากผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปหรือทำทุกอย่างทั้งๆที่เด็กสามารถทำเองได้ นี่คือข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง เพราะเด็กจะไม่มีการพัฒนาและเมื่อเขาเติบดตขึ้นไปเขาจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ยาก เพราะเขาทำอะไรไม่เป็น เพราะฉะนั้นไม่ควรช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น (ต้องใจแข็ง) และไม่พูดคำว่า หนูทำช้า หรือ หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเหลือเด็กเมื่อไหร่?
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว เพราะเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการจึงจะช่วยเด็กทำกิจกรรมได้

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง แบ่งเป็น 2 ขั้น
1 แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
2 เรียงลำดับตามขั้นตอน
ยกตัวอย่างเช่น การเข้าส้วม
1.เข้าไปในห้องส้วม
2.ดึงกางเกงลงมา
3.ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
7.กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.ดึงกางเกงขึ้น
9.ล้างมือ
10.เช็ดมือ
11.เดินออกจากส้วม

การวางแผนทีละขั้น คือ การแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 




กิจกรรมศิลปะบำบัด


อุปกรณ์ : 1.กระดาษ 100 ปอนด์ขนาดเท่ากระดาษ A4 
2. สีเทียน                                       
3.กรรไกร                                        

ขั้นตอนการทำ
1. เลือกสีเทียนที่ตนเองชอบมา 1 สี แล้วจุดลงตรงกลางกระดาษเป็นวงกลม
2. นำสีเทียนสีต่างๆมาวนรอบๆจุดไปทีละชั้นๆตามที่เราต้องการ                   
 3. นำกรรไกรตัดให้เป็นวงกลมเท่าขนาดที่เราวนสี                                          
4. นำไปแปะลงที่ลำต้นของต้นไม้ตามที่เราต้องการ                                      
                           
  
                           
กิจกรรมศิลปะบำบัดนี้ สามารถช่วยในเรื่องของการฝึกสมาธิ ฝึกกล้ามเนื้อมือ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้กับเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี

การนำความรู้ไปใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและสามารถบำบัดเด็กพิเศษให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
- ทักษะในการช่วยเหลือตนเอง ทำให้ได้รู้ว่า คนเป็นครูควรช่วยเหลือเด็กในตอนไหนและการช่วยเหลือหรือหารฝึกเด็กที่ถูกต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
- ทำให้รู้ว่า การที่ิเราชอบช่วยเหลือเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องต่างๆมากจนเกินไป ทำให้เด็กเติบโตมาอยู่ในสังคมที่ต้องลำบาก ไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง : วันนี้อาการในห้องเรียนค่อนข้างร้อนถึงร้อนมาก เลยทำให้ตั้งใจเรียนไม่เต็มที่ มีคุยกับเพื่อนบ้าง แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์บอกนะคะ มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมท้ายชั่วโมงคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนก็บ่นว่า ห้องเรียนร้อนเหมือนกัน แต่ดดยภาพรวมแล้วทุกคนก็ตั้งใจเรียนมากคะ อาจจะมีบ้างที่หันไปคุยกัน ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่และผลงานของเพื่อนทุกคนออกมาสวยงามมากคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนและพยายามสรุปเนื้อหาที่เรียนให้เร้วที่สุด เนื่องจากห้องเรียนไม่มีความพร้อม อากาศร้อนมาก อาจารย์เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพบเจอและบอกข้อแนะนำหรือเทคนิคต่างๆให้นักศึกษาฟังได้เป็นอย่างดี