วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 6 เวลา 08.30-12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ

ในวันนี้ อาจารย์มีกิจกรรมในต้นชั่วโมง คือ การตอบคำถามเชิงจิตวิทยา เป็นการแสดงความรู้สึกต่างๆเมื่อไปเล่นรถไฟเหาะที่สวนสนุก
ชื่อกิจกรรม  รถไฟเหาะแห่งชีวิต


การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
... ทักษะทางสังคม...

ทักษะทางสังคม  เป็นทักษะที่ใหญ่และกว้างมาก เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กพิเศษ
- เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพ่อแม่ อาจจะเป็นกับตัวเด็กเองก็ได้
- การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น   กิจกรรมการเล่นเป็นสิ่งที่ส่งเสริมเด็กพิเศษได้ดีมาก
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีการเล่น ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
- ขั้นตอนการเล่นของเด็กพิเศษ คือ การเลียนแบบพฤติกรรมของเพื่อน
- ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
- จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
- ครูจดบันทึก
- ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ กลุ่มละ 2-4 คน มากที่สุด คือ 5 คน ภายในกลุ่มต้องรวมเด็กปกติที่เก่ง เด็กปกติ และเด็กพิเศษเข้าไปภายในกลุ่มด้วย เพื่อให้เด็กได้เรียนรู้และช่วยเหลือกัน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครู ให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆและเผ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
- ไม่ชมเชยหรือให้ความสนใจเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
- ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้เสริมแรงทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
- ทำโดย การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้องเรียน
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

เทคนิค
- ในการจัดกิจกรรมให้เด็กแบบเป็นกลุ่ม อุปกรณ์ที่แจกให้เด็กในกลุ่มต้องมีจำนวนน้อยกว่าจำนวนคน เช่น ในกลุ่มมีจำนวน 4 คน อุปกณ์ที่จะให้ คือ 2 ชิ้น เพื่อให้เด็กได้หมุนวนกันเล่นและแบ่งปันกันเล่น ทำให้เด็กรู้จักกฎกติกา การแบ่งปันและช่วยเหลือกันและกัน
- ในการใช้แรงเสริมควรให้แรงเสริมทั้งสองฝ่าย
- เวลาเด็กพิเศษกำลังทำศิลปะอยู่ ครูต้องรอให้เด็กทำกิจกรรมให้เสร็จก่อน ถึงจะเข้าไปพูดคุยกับเด็กได้



กิจกรรมต่อมา คือ กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษด้วยเสียงเพลง
- โดยจับคู่ 2 คนต่อกระดาษ 1 แผ่น เลือกสีเทียนที่ตัวเองชอบคนละ 1 สี
- ให้ตกลงกันแต่ละคนภายในกลุ่มว่า ใครจะเป็นเส้น ใครจะเป็นจุด
- คนที่เป็นเส้นให้วาดเส้นลงบนกระดาษโดยใช้ความรู้สึกที่ตัวเองได้ฟังเพลงวาดลงไปในกระดาษ โดยเส้นมี่วาดต้องมีเป็นลักษณะของวงกลมร่วมอยู่ด้วย ห้ามยกมือจนกว่าเพลงจะจบ
- คนที่เป็นจุดให้วาดจุดลงไปในวงกลมที่เพื่อนวาด ขนาดเท่าไหร่ก็ได้ตามความชอบ
- เมื่อเพลงจบแล้ว ให้ลองมองดูว่า เส้นกับจุดที่วาดสามารถนำมาวาดเป็นรูปอะไรได้บ้าง


เส้นกับจุด

ม้าน้ำ




ท้ายชั่วโมงอาจารย์ฝึกให้นักศึกษาร้องเพลง



การนำความรู้ไปใช้

สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนที่มีเด็๋กพิเศษเรียนร่วมอยู่ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการออกการฝึกสอนและการสอนในอนาคตได้

กิจกรรมที่ได้รับในวันนี้เป็นประโยชน์อย่างมากในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษและเด็กปกคิ ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาทักษะทางด้านสังคมได้เป็นอย่างดี

ทำให้รู้ถึง คำชักชวนเด็กพิเศษ ให้เข้าไปทำกิจกรรมหรือเล่นกับกลุ่มเพื่อนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

การร้องเพลงก็เป็นกิจกรรมที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี 



ประเมินตนเอง : เข้าเรียนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกความรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่อาจารย์สอนและเทคนิคต่างๆที่อาจารย์แนะนำ ร่วมทำกิจกรรมตามที่อาจารย์มอบหมายครบถ้วนทุกกิจกรรมและเต็มที่กับกิจกรรมทุกอย่าง การเรียนในวันนี้หนูชอบกิจกรรมท้ายชั่วโมงมากคะ เพราะเป็นกิจกรรมที่แปลกใหม่และมีความรู้สึกว่า พอเวลาทำแล้วอารมณ์ดี สนุกสนานและท้าทายดีคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอน รวมทั้งร่วมกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์ให้ทำอย่างเต็มที่และมีความสุข ทุกคนหน้าตายิ้มแย้ม อารมณ์ดี เสียงดัง สนุกสนานคะ

ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย วันนี้อาจารย์แต่งกายน่ารักมากคะ ตั้งใจสอนและแนะนำสิ่งต่างๆให้กับนักศึกษาเยอะมาก หากิจกรรมที่สนุกและมีความรู้มาให้นักศึกษาได้ทำหลากหลายในแต่ละชั่วโมงไม่ซ้ำกันเลยคะ อยากให้อาจารย์จัดกิจกรรมแบบนี้อีกคะ 


วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20 น.




ความรู้ที่ได้รับ
  ต้นชั่วโมงของการเรียนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษา ใส่ถุงมือในข้างที่ตนเองไม่ถนัด 1 ข้าง แล้ววาดภาพมือที่อยู่ในถุงมือนั้น ห้ามดู โดยละเอียดที่สุด

ใส่ถุงมือในข้างที่ไม่ถนัด

ภาพมือที่อยู่ในถุงมือ

ความหมายที่วาดภาพนี้ คือ เปรียบเหมือนการบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษ ควรบันทึกอย่างสม่ำเสมอและเก็บรายละเอียดของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาให้ได้มากที่สุด แล้วจดบันทึกตามความเป็นจริง อย่าละเลยกับการบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษ ไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวของตัวเองลงไปและต้องมีความมั่นใจในการบันทึกพฤติกรรมของเด็ก และต้องรู้ว่า อะไรคือจุดด้อย? อะไรคือจุดเด่น? ต้องการส่งเสริมและพัฒนาอะไร? และการบันทึกต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ


 ทักษะของครูและทัศนคติ
-สายตาต้องมองเด็กทุกคนในห้องให้เหมือนกัน
-เด็กเหมือนกันมากกว่าที่จะแตกต่าง
-ต้องจำชื่อเด็กได้ ชื่อ - นามสกุล  ชื่อเล่น
-มองเด็กให้เป็น เด็ก

 การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-เวลาสอนเด็ก ครูมองเด็กทุกคน อย่าหยุดชะงักสายตาที่ใครคนใดคนหนึ่งนานเกินไป

 การสอนโดยบังเอิญ คือ การทำกิจกรรมเสริม หรือ เราบังเอิญทำกิจกรรมและได้ความรู้พอดี เด็กพิเศษจะชอบมากสำหรับการสอนในลักษณะนี้ จะทำให้เด็กเข้ามาถามครูเอง ยิ่งถ้าเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น ครูต้องมีความพร้อมที่จะพบเจอเด็กและมีความสนใจเด็ก มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็กและมีความตั้งใจในการช่วยเหลือเด็ก

 อุปกรณ์สำหรับห้องเรียนรวม
-สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับห้องเรียนรวม คือ การไม่แบ่งแยกเพศของเด็ก เช่น ของเล่น ตุ๊กตา เครื่องสำอาง หุ่นยนต์ รถแข่ง เป็นต้น อุปกรณ์ในกานเล่นของเด็กห้องเรียนรวมต้องสามารถเล่นได้รวมกันทั้งผู้หญิงและผู้ชายและวิธีการเล่นต้องไม่ตายตัว เช่น บล็อก เป็นต้น

 ตารางประจำวันของเด็กพิเศษ คือ เด็กพิเศษไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ตารางต้องมีความคงที่และมั่นคง

 ทัศนคติของครู 
-ต้องมีความยืดหยุ่นและปรับให้เป็นในการใช้แผนการสอน
-ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก

การใช้สหวิทยากร
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมบำบัดที่จะสอดแทรกการบำบัด คือ เพลง

เทคนิคการให้แรงเสริม
-เด็กพิเศษชอบการแรงเสริม ชอบให้ครูชมเชยและวิธีการแสดงออกถึงแรงเสริม คือ การตอบสนองด้วยวาจา การยืนหรือนั่งใกล้ๆเด็ก การพยักหน้า ยิ้ม ฟัง การสัมผัสกายและการให้ความช่วยเหลือรวมถึงการร่วมกิจกรรม

การแนะนำหรือบอกบท Prompting
-การย่อยงาน : บอกอย่างเป็นขั้นตอน ละเอียดถี่ถ้วน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ : การบอกให้เด็กย้อนมาหาเรา เช่น การพูดตามครู

ความต่อเนื่อง?
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาข้างหลัง
ก้าวไปข้างหน้า : เริ่มต้นจากขั้นแรกไปขั้นสุดท้าย
ย้อนมาจากข้างหลัง : จากล่างขึ้นบน เริ่มจากขั้นสุดท้ายของกิจกรรมขึ้นไป

การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ห้ามในสิ่งที่เด็กชอบ
-เอาเด็กออกจากกิจกรรม


ท้ายชั่วโมงของการเรียนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันตอบกิจกรรม Post test และร้องเพลง


การนำความรู้ไปใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการฝึกสอนเด็กปฐมวัยที่เรียนรวมในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทำให้เรารู้ทัศนคติของครูที่มีต่อเด็กพิเศษและทักษะของครู

ทำให้รู้ขั้นตอนการเสริมแรงที่มีต่อเด็กพิเศษ การใช้คำพูด สีหน้า ท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางในการสอนเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี

ทำให้รู้ถึงวิธีการบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษว่ามีขั้นตอนแบบไหนบ้าง รวมไปถึงการสอนโดยบังเอิญและตารางประจำวันสำหรับเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นแนวทางและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ

ประเมินตนเอง : วันนี้มาเรียนก่อนเวลา อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี 1 อัน แต่งกายเรียบร้อย แต่เล็บมีสีที่ไม่สุภาพ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกความรู้เพิ่มเติมในสิ่งอาจารย์สอน ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ คือ วาดภาพ ร้องเพลง ตอบคำถามจาก Post test

ประเมินเพื่อน : เพื่อนบางคนมาเรียนก่อนเวลาและตรงเวลา แต่บางคนเข้าเรียนช้ากว่าเวลาเรียน แต่งกายเรียบร้อย ทุกคนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายอย่างเต็มที่ 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีบุคลิกภาพที่ดีเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา ตั้งใจสอนและยกตัวอย่างหรือเล่าประสบการณ์ที่เคยเจอพร้อมให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆให้นักศึกษา