บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558
ครั้งที่ 5 เวลา 08.30-12.20 น.
ความรู้ที่ได้รับ
ต้นชั่วโมงของการเรียนวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษา ใส่ถุงมือในข้างที่ตนเองไม่ถนัด 1 ข้าง แล้ววาดภาพมือที่อยู่ในถุงมือนั้น ห้ามดู โดยละเอียดที่สุด
ใส่ถุงมือในข้างที่ไม่ถนัด
ภาพมือที่อยู่ในถุงมือ
ความหมายที่วาดภาพนี้ คือ เปรียบเหมือนการบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษ ควรบันทึกอย่างสม่ำเสมอและเก็บรายละเอียดของพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาให้ได้มากที่สุด แล้วจดบันทึกตามความเป็นจริง อย่าละเลยกับการบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษ ไม่ใส่ความรู้สึกส่วนตัวของตัวเองลงไปและต้องมีความมั่นใจในการบันทึกพฤติกรรมของเด็ก และต้องรู้ว่า อะไรคือจุดด้อย? อะไรคือจุดเด่น? ต้องการส่งเสริมและพัฒนาอะไร? และการบันทึกต้องทำอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ
ทักษะของครูและทัศนคติ
-สายตาต้องมองเด็กทุกคนในห้องให้เหมือนกัน
-เด็กเหมือนกันมากกว่าที่จะแตกต่าง
-ต้องจำชื่อเด็กได้ ชื่อ - นามสกุล ชื่อเล่น
-มองเด็กให้เป็น เด็ก
การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-เวลาสอนเด็ก ครูมองเด็กทุกคน อย่าหยุดชะงักสายตาที่ใครคนใดคนหนึ่งนานเกินไป
การสอนโดยบังเอิญ คือ การทำกิจกรรมเสริม หรือ เราบังเอิญทำกิจกรรมและได้ความรู้พอดี เด็กพิเศษจะชอบมากสำหรับการสอนในลักษณะนี้ จะทำให้เด็กเข้ามาถามครูเอง ยิ่งถ้าเด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น ครูต้องมีความพร้อมที่จะพบเจอเด็กและมีความสนใจเด็ก มีความรู้สึกที่ดีต่อเด็กและมีความตั้งใจในการช่วยเหลือเด็ก
อุปกรณ์สำหรับห้องเรียนรวม
-สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับห้องเรียนรวม คือ การไม่แบ่งแยกเพศของเด็ก เช่น ของเล่น ตุ๊กตา เครื่องสำอาง หุ่นยนต์ รถแข่ง เป็นต้น อุปกรณ์ในกานเล่นของเด็กห้องเรียนรวมต้องสามารถเล่นได้รวมกันทั้งผู้หญิงและผู้ชายและวิธีการเล่นต้องไม่ตายตัว เช่น บล็อก เป็นต้น
ตารางประจำวันของเด็กพิเศษ คือ เด็กพิเศษไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ตารางต้องมีความคงที่และมั่นคง
ทัศนคติของครู
-ต้องมีความยืดหยุ่นและปรับให้เป็นในการใช้แผนการสอน
-ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
การใช้สหวิทยากร
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน กิจกรรมบำบัดที่จะสอดแทรกการบำบัด คือ เพลง
เทคนิคการให้แรงเสริม
-เด็กพิเศษชอบการแรงเสริม ชอบให้ครูชมเชยและวิธีการแสดงออกถึงแรงเสริม คือ การตอบสนองด้วยวาจา การยืนหรือนั่งใกล้ๆเด็ก การพยักหน้า ยิ้ม ฟัง การสัมผัสกายและการให้ความช่วยเหลือรวมถึงการร่วมกิจกรรม
การแนะนำหรือบอกบท Prompting
-การย่อยงาน : บอกอย่างเป็นขั้นตอน ละเอียดถี่ถ้วน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การบอกบทจะค่อยๆน้อยลงตามลำดับ : การบอกให้เด็กย้อนมาหาเรา เช่น การพูดตามครู
ความต่อเนื่อง?
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาข้างหลัง
ก้าวไปข้างหน้า : เริ่มต้นจากขั้นแรกไปขั้นสุดท้าย
ย้อนมาจากข้างหลัง : จากล่างขึ้นบน เริ่มจากขั้นสุดท้ายของกิจกรรมขึ้นไป
การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ห้ามในสิ่งที่เด็กชอบ
-เอาเด็กออกจากกิจกรรม
ท้ายชั่วโมงของการเรียนในวันนี้ อาจารย์ให้นักศึกษาร่วมกันตอบกิจกรรม Post test และร้องเพลง
การนำความรู้ไปใช้
สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้ในการฝึกสอนเด็กปฐมวัยที่เรียนรวมในอนาคตได้เป็นอย่างดี ทำให้เรารู้ทัศนคติของครูที่มีต่อเด็กพิเศษและทักษะของครู
ทำให้รู้ขั้นตอนการเสริมแรงที่มีต่อเด็กพิเศษ การใช้คำพูด สีหน้า ท่าทางต่างๆ ซึ่งเป็นแนวทางในการสอนเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี
ทำให้รู้ถึงวิธีการบันทึกพฤติกรรมของเด็กพิเศษว่ามีขั้นตอนแบบไหนบ้าง รวมไปถึงการสอนโดยบังเอิญและตารางประจำวันสำหรับเด็กพิเศษ ซึ่งเป็นแนวทางและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการจัดกิจกรรมต่างๆ
ประเมินตนเอง : วันนี้มาเรียนก่อนเวลา อาจารย์ให้รางวัลเด็กดี 1 อัน แต่งกายเรียบร้อย แต่เล็บมีสีที่ไม่สุภาพ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและจดบันทึกความรู้เพิ่มเติมในสิ่งอาจารย์สอน ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้ คือ วาดภาพ ร้องเพลง ตอบคำถามจาก Post test
ประเมินเพื่อน : เพื่อนบางคนมาเรียนก่อนเวลาและตรงเวลา แต่บางคนเข้าเรียนช้ากว่าเวลาเรียน แต่งกายเรียบร้อย ทุกคนตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายอย่างเต็มที่
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะอ่อนหวาน มีบุคลิกภาพที่ดีเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่นักศึกษา ตั้งใจสอนและยกตัวอย่างหรือเล่าประสบการณ์ที่เคยเจอพร้อมให้คำแนะนำและเทคนิคต่างๆให้นักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น