วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 25 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 11 เวลา 08.30-12.20 น.

วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์สอบเก็บคะแนน วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย  10 คะแนน


ประเมินตนเอง : จากการสอบในวันนี้ มีความตั้งใจทำข้อสอบเก็บคะแนนและตั้งใจสอบเป็นอย่างมาก ความยากง่ายของข้อสอบมีความเหมาะสมคะ มาเข้าก่อนเวลา

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนตั้งใจสอบมากคะ ต่างคนต่างทำข้อสอบ และคิดว่าเพื่อนๆทุกคนทำข้อสอบออกมาได้เป็นอย่างดีคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์คุมสอบดีคะ ออกข้อสอบได้เหมาะสมคะ มันเป็นการทดสอบถึงความรู้ในระหว่างที่นักศึกษาเรียนว่ามีความรู้มากน้อยแค่ไหนหลังจากที่ได้เรียนไปคะ 




วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 18 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 10 เวลา 08.30-12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ
เรื่องที่เรียนในวันนี้ คือ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
ทักษะการช่วยเหลือ



การสร้างความอิสระ   เด็กอยากช่วยเหลือตนเองและอยากทำงานตามความสามรถของตนเองไม่อยากให้ใครเข้ามาช่วยเหลือ เด็กอยากสร้างผลงานด้วยตนเองมากกว่าที่จะให้ใครมาช่วย เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่าและผู้ใหญ่

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ    ความสำเร็จของเด็กพิเศษคือ การที่เขาทำผลงานได้ด้วยตนเองและเขามีความเชื่อมั่นในตนเองเกี่ยวกับผลงานและเรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง    ส่วนมากผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไปหรือทำทุกอย่างทั้งๆที่เด็กสามารถทำเองได้ นี่คือข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง เพราะเด็กจะไม่มีการพัฒนาและเมื่อเขาเติบดตขึ้นไปเขาจะดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ยาก เพราะเขาทำอะไรไม่เป็น เพราะฉะนั้นไม่ควรช่วยเหลือเด็กเกินความจำเป็น (ต้องใจแข็ง) และไม่พูดคำว่า หนูทำช้า หรือ หนูยังทำไม่ได้

จะช่วยเหลือเด็กเมื่อไหร่?
เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร หงุดหงิด เบื่อ ไม่ค่อยสบาย หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว เพราะเด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการจึงจะช่วยเด็กทำกิจกรรมได้

ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง แบ่งเป็น 2 ขั้น
1 แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
2 เรียงลำดับตามขั้นตอน
ยกตัวอย่างเช่น การเข้าส้วม
1.เข้าไปในห้องส้วม
2.ดึงกางเกงลงมา
3.ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.ทิ้งกระดาษชำระลงในตะกร้า
7.กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.ดึงกางเกงขึ้น
9.ล้างมือ
10.เช็ดมือ
11.เดินออกจากส้วม

การวางแผนทีละขั้น คือ การแยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด 




กิจกรรมศิลปะบำบัด


อุปกรณ์ : 1.กระดาษ 100 ปอนด์ขนาดเท่ากระดาษ A4 
2. สีเทียน                                       
3.กรรไกร                                        

ขั้นตอนการทำ
1. เลือกสีเทียนที่ตนเองชอบมา 1 สี แล้วจุดลงตรงกลางกระดาษเป็นวงกลม
2. นำสีเทียนสีต่างๆมาวนรอบๆจุดไปทีละชั้นๆตามที่เราต้องการ                   
 3. นำกรรไกรตัดให้เป็นวงกลมเท่าขนาดที่เราวนสี                                          
4. นำไปแปะลงที่ลำต้นของต้นไม้ตามที่เราต้องการ                                      
                           
  
                           
กิจกรรมศิลปะบำบัดนี้ สามารถช่วยในเรื่องของการฝึกสมาธิ ฝึกกล้ามเนื้อมือ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการให้กับเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี

การนำความรู้ไปใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนในวันนี้ไปใช้ในการสอนเด็กพิเศษได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการทำกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการและสามารถบำบัดเด็กพิเศษให้มีพัฒนาการที่ดีขึ้นได้
- ทักษะในการช่วยเหลือตนเอง ทำให้ได้รู้ว่า คนเป็นครูควรช่วยเหลือเด็กในตอนไหนและการช่วยเหลือหรือหารฝึกเด็กที่ถูกต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
- ทำให้รู้ว่า การที่ิเราชอบช่วยเหลือเด็กไม่ว่าจะเป็นเรื่องต่างๆมากจนเกินไป ทำให้เด็กเติบโตมาอยู่ในสังคมที่ต้องลำบาก ไม่สามารถทำอะไรได้ด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง : วันนี้อาการในห้องเรียนค่อนข้างร้อนถึงร้อนมาก เลยทำให้ตั้งใจเรียนไม่เต็มที่ มีคุยกับเพื่อนบ้าง แต่ก็ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์บอกนะคะ มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจทำกิจกรรมท้ายชั่วโมงคะ

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆทุกคนก็บ่นว่า ห้องเรียนร้อนเหมือนกัน แต่ดดยภาพรวมแล้วทุกคนก็ตั้งใจเรียนมากคะ อาจจะมีบ้างที่หันไปคุยกัน ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่และผลงานของเพื่อนทุกคนออกมาสวยงามมากคะ

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจสอนและพยายามสรุปเนื้อหาที่เรียนให้เร้วที่สุด เนื่องจากห้องเรียนไม่มีความพร้อม อากาศร้อนมาก อาจารย์เล่าถึงประสบการณ์ที่เคยพบเจอและบอกข้อแนะนำหรือเทคนิคต่างๆให้นักศึกษาฟังได้เป็นอย่างดี






วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อ.ตฤณ  แจ่มถิน
วันพุธที่ 11 มีนาคม 2558
ครั้งที่ 9 เวลา 08.30-12.20 น.



ความรู้ที่ได้รับ

ในต้นชั่วโมงอาจารย์เริ่มเข้าสู่การสอนด้วยการร้องเพลงคะ


เรื่องที่เรียนในวันนี้

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะทางภาษา

การวัดและความสามารถทางภาษา
- เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
- ตอบสนองเมื่อมีคนมาพูดด้วยไหม
- ถามหาสิ่งต่างๆไหม
- บอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไหม
- ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด/พูดไม่ชัด
- การพูดตกหล่น
- การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
- ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
- ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ ตามสบาย คิดก่อนพูด
- อย่าขัดจังหวะขณะที่เด็กพูด
- ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
- อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างถนัดของเด็ก
- เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
- ทักษะการรับรู้
- การแสดงออกทางภาษา
- การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
- การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
- ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
- คอยให้เด็กตอบ
- เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
- เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังอย่างเดียว
- กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
- เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น



กิจกรรมศิลปะบำบัด




สื่อ/อุปกรณ์
1.กระดาษวาดเขียน
2.สีเทียน
3.เพลง
กติกา
1.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน เลือกสีเทียนสีที่ตัวเองชอบคนละ 1 สี
2.ฟังเพลงแล้วลากเส้นตรงลงบนกระดาษวาดเขียนไปพร้อมๆกันตามอารมณ์ของเพลง
3.ระบายสีที่เป็นภาพปิด/มุมปิดให้ทั่วกระดาษ


การนำความรู้ไปใช้
สมารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี เพราะในการสอนในอนาคตเราไม่สามารถคาดเดาได้ว่าเราต้องพบเจอเด็กแบบไหนบ้าง ซึ่งเราเรียนรู้ในวันนี้ ทำให้เรามีความรู้พื้นฐานในการที่จะสอนเด็กได้เป็นอย่างดี

สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปค้นคว้าศึกษาต่อในสิ่งที่เราอยากรู้เพิ่มเติมและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการสอนให้ผู้ที่สนใจอยากเรียนรู้ได้

ทำให้ได้รู้ว่า ทักษะทางภาษาของเด็กพิเศษ มีอะไรบ้างและเราสามารถวัดทักษะทางภาษาในด้านต่างๆของเด็กพิเศษได้อย่างไรบ้าง


ประเมินตนเอง : เข้าเรียนก่อนเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์สอนในเนื้อหาต่างๆที่เรียน พร้อมทั้งจดบันทึกเนื้อหาเพิ่มเติมที่อาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรมศิลปะบำบัดกับเพื่อนได้เป็นอย่างดี แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจเรียนทุกคน มีความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนรู้ เล่าประสบการณ์ที่เคยพบเจอให้เพื่อนๆและครูฟังและช่วยกันคิดแก้ปัญหา ถ้าเราเจอเหตุการณ์แบบนี้ควรทำอย่างไร เป็นต้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์สอนเข้าใจ มีการยกตัวอย่างและเล่าประสบการณ์ที่เคยพบเจอและบอกเทคนิคต่างๆรวมไปถึงการแก้ปัญหากับเหตุการณ์ที่พบเจอได้อย่างถูกวิธี สอนเข้าใจและสอนดีมากคะ สนุกสนาน เป็นกันเอง แต่ในความสนุกสนานก็มีความเป็นระเบียบเรียบร้อยนะคะ